|
|
 |


กำลังแสดงหน้าที่ 1/1 | <<
1
>>
แนวข้อสอบ พ.ร.บ.ตำรวจ 2547
โดย :
admin เมื่อวันที่ :
พุธ ที่ 9 เดือน ธันวาคม พ.ศ.2552
|
|
แนวข้อสอบ พ.ร.บ.ตำรวจ 2547
จงเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุด 1.โทษทางวินัยของข้าราชการตำรวจข้อใดเบาที่สุด ก.กักยาม ข.ตัดเงินเดือน ค.ทัณฑกรรม ง.ภาคทัณฑ์
2.ข้าราชการตำรวจที่ประจำอยู่ต่างประเทศอาจได้รับเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่ง โดยได้รับความเห็นชอบจากหน่วยงานใด ก.สำนักนายกรัฐมนตรี ข.สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ค.กระทรวงการต่างประเทศ ง.กระทรวงการคลัง
3.ข้าราชการตำรวจที่ได้รับการเลื่อนตำแหน่งเป็นพนักงานสอบสวนผู้ชำนาญการ ต้องมีคุณสมบัติอย่างไรบ้าง ก.ดำรงตำแหน่งพนักงานสอบสวนและได้รับเงินเดือนตามที่ ก.ตร.กำหนด และผ่านการประเมินแล้ว ข.ดำรงตำแหน่งพนักงานสอบสวนผู้ชำนาญการมาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปี ได้เงินเดือนถึงขั้นต่ำของระดับ ส.3 ค.ดำรงตำแหน่งพนักงานสอบสวนผู้เชี่ยวชาญมาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปี ได้เงินเดือนถึงขั้นต่ำของระดับ ส.4 ง.ดำรงตำแหน่งพนักงานสอบสวนผู้ทรงคุณวุฒิมาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปี ได้เงินเดือนขั้นต่ำของระดับ ส.5
4. ในการประชุม ก.ตร.กรณีที่กรรมการข้าราชการตำรวจขอให้เรียกประชุม ต้องมีไม่น้อยกว่าจำนวนเท่าใด และประธาน ก.ตร.ต้องเรียกประชุมภายในกี่วันนับแต่วันที่ได้รับร้องขอ ก.จำนวนทั้งหมดของกรรมการ / ภายใน 15 วัน ข.จำนวนกึ่งหนึ่งของกรรมการ / ภายใน 10 วัน ค.จำนวนหกคน / ภายใน 7 วัน ง.หนึ่งคนก็ได้ / ภายใน 3 วัน
5.ข้อใดถูกต้องที่สุดเกี่ยวกับชั้นของข้าราชการตำรวจ ก.ชั้นพลตำรวจ ชั้นประทวน ชั้นสัญญาบัตร ข.ชั้นประทวน ชั้นสัญญาบัตร ค.ชั้นประทวน ชั้นดาบตำรวจ ชั้นสัญญาบัตร ง.ชั้นพลตำรวจ ชั้นสัญญาบัตร
6.ข้อใดคือส่วนราชการที่สังกัดสำนักงานผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ตามมาตรา 10 (1) ก.สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง ข.กองบัญชาการสอบสวนกลาง ค.สำนักงานจเรตำรวจ ง.สำนักงานส่งกำลังบำรุง
7. ผู้ที่มีอำนาจตั้งคณะกรรมการสอบสวนขึ้นมา ในกรณีที่ตำแหน่งระดับรองผู้กำกับการได้กระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง คือใคร ก.ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ข.จเรตำรวจแห่งชาติ ค.ผู้กำกับการ ง.พนักงานสอบสวนผู้เชี่ยวชาญ
8. ข้าราชการตำรวจที่กระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงที่ถูกสั่งลงโทษปลดออก หรือไล่ออก หากมีเหตุอันควรได้ลดหย่อนโทษมาประกอบพิจารณาการลงโทษ แต่การลดโทษต้องไม่ต่ำกว่า ก.ปลดออก ข.ถูกสั่งพักราชการ ค.ตัดเงินเดือน ง.กักขัง
9. ผู้ที่เคยเป็นพลตำรวจสำรองพิเศษ พลตำรวจพิเศษหรือพลตำรวจสมัครตำแหน่งลูกแถว ตาม พ.ร.บ.ตำรวจฯ 2521 หลังจาก พ.ร.บ.ตำรวจฯ 2547มีผลบังคับใช้ ให้ผู้นั้นเป็น .......?........ ก.พ้นจากความเป็นข้าราชการตำรวจ ข.พลตำรวจตำแหน่งลูกแถว ค.ข้าราชการตำรวจชั้นพลตำรวจสำรอง ตำแหน่งรองผู้บังคับหมู่ ง.ข้าราชการตำรวจชั้นประทวน ตำแหน่งผู้บังคับหมู่หรือเทียบเท่า
10.ข้าราชการตำรวจสามารถที่จะดำรงตำแหน่งอื่นอีกได้หรือไม่ ก.ไม่ได้เลย ข.ไม่ได้เพราะบางทีต่างสายงานกัน ค.ได้ หากเป็นตำแหน่งที่เทียบเท่ากัน ง.ไม่มีข้อถูก
เฉลยคำตอบ 1.ง มาตรา 82 โทษทางวินัยมี 7 สถาน ดังต่อไปนี้ (1) ภาคทัณฑ์ (2) ทัณฑกรรม (3) กักยาม (4) กักขัง (5) ตัดเงินเดือน (6) ปลดออก (7) ไล่ออก การ ลงโทษภาคทัณฑ์ ได้แก่ การลงโทษแก่ผู้กระทำผิดอันควรต้องรับโทษสถานหนึ่งสถานใด แต่มีเหตุอันควรปรานีจึงเพียงแค่แสดงความผิดผู้นั้นให้ปรากฏไว้
2.ง มาตรา 71 ข้าราชการตำรวจอาจได้รับเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่ประจำอยู่ในต่างประเทศ หรือตำแหน่งทีมีเหตุพิเศษตามที่กำหนดในระเบียบ ก.ตร. โดยความเห็นชอบของกระทรวงการคลัง
3.ก มาตรา 47 ข้าราชการตำรวจซึ่งดำรงตำแหน่งพนักงานสอบสวน ให้ได้รับการเลื่อนตำแหน่งดังต่อไปนี้ (1) พนักงานสอบสวน เมื่อดำรงตำแหน่งและได้รับเงินเดือนตามที่ ก.ตร. กำหนด อีกทั้งได้ผ่านการประเมินแล้ว ให้ผู้นั้นเป็นพนักงานสอบสวนผู้ชำนาญการ
4.ค มาตรา 42 (วรรคสาม) ให้ประธานกรรมการข้าราชการตำรวจเป็นผู้เรียกประชุม แต่ในกรรีที่กรรมการข้าราชการตำรวจไม่น้อยกว่าหกคนร้องขอให้เรียกประชุม ให้ประธานกรรมการข้าราชการตำรวจเรียกประชุมภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้รับ ร้องขอ
5.ก มาตรา 25 ชั้นของข้าราชการตำรวจมีดังต่อไปนี้ (1) ชั้นสัญญาบัตร ได้แก่......... (2) ชั้นประทวน ได้แก่......... (3) ชั้นพลตำรวจ ได้แก่.........
6.ง มาตรา 118 (วรรคสอง) ทั้งนี้ โดยสำนักงานกำลังพล สำนักงานส่งกำลังบำรุง สำนักแผนและงบประมาณ.......................................ซึ่งเป็นส่วน ราชการตามวรรคหนึ่ง เป็นส่วนราชการหรือหน่วยงานในสังกัดสำนักงานผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติตาม มาตรา 10 (1)...................................................................
7.ก มาตรา 86 (วรรคสอง) ให้ผู้มีอำนาจตามมาตรา 72 หรือผู้บังคับบัญชาอื่นตามที่กำหนดในระเบียบ ก.ตร. เป็นผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนตามวรรคหนึ่ง ***จะเห็นได้ว่า ผบ.ตร.มีอำนาจแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนทางวินัยอย่างร้ายแรง ตั้งแต่จเรตำรวจ,รอง ผบ.ตร. หรือตำแหน่งเทียบเท่าลงมา คำตอบข้ออื่นๆไม่มีอำนาจในการแต่งตั้ง***
8.ก มาตรา 90 (วรรคหนึ่ง) ข้าราชการตำรวจผู้ใดกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง ......................................................................... ถ้ามีเหตุอันควรลดหย่อนจะนำมาประกอบการพิจารณาลงโทษก็ได้ แต่ห้ามมิให้ลดโทษต่ำกว่าปลดออก
9.ง มาตรา121 ผู้ใดเป็นพลตำรวจสำรองพิเศษ พลตำรวจพิเศษ และพลตำรวจสมัคร............................................................. ให้ผู้นั้นเป็นข้าราชการตำรวจชั้นประทวน และดำรงตำแหน่งผู้บังคับหมู่หรือเทียบเท่าผู้บังคับหมู่..................................
10.ขอเฉลยข้อ ค (เพราะตอนนี้ไม่ค่อยแน่ใจว่าตั้งคำถามถูกหรือเปล่า) * ลองมาดูเหตุผลล่ะกัน* มาตรา 51 ดูที่วรรคสุดท้ายเลยนะ การแต่งตั้งข้าราชการตำรวจให้ดำรงตำแหน่งตาม (2) ถึง (13) อาจแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเทียบเท่าด้วยก็ได้ ***ความคิดเห็นส่วนตัว ตัวอย่างเช่น พล.ต.ต. พงศพัศ พงษ์เจริญ เป็นทั้งโฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ และ รองผบช.สตม. ทั้งสองตำแหน่งพร้อมกัน***
By Google
...คัดลอกมาอีกที ผิดถูกยังไง กางตำราดูเอง...
เข้าชม : 103232
|
|
ข้อความแสดงความคิดเห็นถูกจำกัดที่ 20 โพสต่อ 1 หน้า หากต้องการชมหน้าถัดไปให้กดเลขหน้าที่ต้องการชมด้านบน
ข้อความแสดงความคิดเห็นถูกจำกัดที่ 20 โพสต่อ 1 หน้า หากต้องการชมหน้าถัดไปให้กดเลขหน้าที่ต้องการชมด้านบน
ข้อความแสดงความคิดเห็นถูกจำกัดที่ 20 โพสต่อ 1 หน้า หากต้องการชมหน้าถัดไปให้กดเลขหน้าที่ต้องการชมด้านบน
|
|
|